กิจกรรมที่1 รู้จักกับระบบ TCAS
ระบบ TCAS
TCAS คืออะไร ?
- TCAS เป็นระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งย่อมาจาก Thai University Central Admission System
- ไม่ใช่ระบบเอ็นทรานซ์ แต่เป็นการรวมวิธีการรับนักศึกษาทั้ง 5 รูปแบบมาไว้ด้วยกัน
- สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net ตั้งแต่ 2 มิถุนายน เวลา 18:00 เป็นต้นไป
ต่างจากระบบเดิมยังไงบ้าง ?
- การสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
- GAT/ PAT จัดสอบระหว่างวันที่ 24 – 27 กุมภาพันธ์ 2561
- O-NET จัดสอบระหว่างวันที่ 3 – 4 มีนาคม 2561
- 9 วิชาสามัญ จัดสอบระหว่างวันที่ 17 – 18 มีนาคม 2561
- กสพท. และวิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย จัดสอบระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561
- นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอบ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศด้วย
จำนวนการรับในระบบ TCAS
มีข้อดียังไงบ้าง ?
- เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย
- ลดปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น (กั๊กที่)
- ลดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน
- แก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 5 รอบ (ปีการศึกษา 2561)
- รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
- รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
- คะแนนที่ต้องใช้ยื่น : GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – เมษายน 2561
- ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
- ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง
- รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
- ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีที่ผ่านมา)
- รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
สำหรับเด็กซิ่ว
เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้
*เด็กซิ่ว = เด็กที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่
สำหรับเด็กอินเตอร์
กระทรวงศึกษาธิการเผยว่า เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา โดยสามารถสมัครสอบ(ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด) ได้ 3 รูปแบบ คือ
- การสมัครในรอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 : การรับตรงร่วมกัน, การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- โดยต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
สำหรับเด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
นักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะสามารถสมัครในรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบที่ 4 (Admission) เพราะว่าจะเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มแล้ว
ที่มาของข้อมูล : http://www.webythebrain.com/article/tcas61_dek61
GAT-PAT
นอกจากจะมีการเปลี่ยนช่วงเวลาในการจัดสอบกลาง มาเป็นช่วงหลังจบ ม.6 แล้ว ก็ได้มีการปรับการสอบ GAT/PAT ให้เหลือเพียง 1 ครั้งด้วยเด็ก61 จะมีเวลาในการเตรียมตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่มีโอกาสให้แก้ตัวรอบสองแล้วนะคะ แบบนี้น้อง ๆ จะรอช้า ไม่รีบฟิตไม่ได้แล้ว พี่วีวี่จึงนำปฏิทินสอบ และรูปแบบข้อสอบ GAT/PAT มาฝาก เด็ก61 ค่ะ อ้อ… และในปีนี้ได้มีการเพิ่ม วิชาความถนัดทางภาษาเกาหลี (PAT 7.7) มาอีก 1 วิชา น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็มาเตรียมตัวกันไว้ให้พร้อมเลยรูปแบบข้อสอบ GAT/PAT 61
GAT ส่วนที่ 1
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 1 ชม. 30 นาที
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
บทความให้อ่าน + ปรนัยแบบกลุ่มคำตอบสัมพันธ์กัน หลายกลุ่ม หลายตัวเลือก | 20 | 150 |
GAT ส่วนที่ 2
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 1 ชม. 30 นาที
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 60 | 150 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 30 | 180 |
แบบระบายคำตอบที่เป็นค่า / ตัวเลข | 15 | 120 |
รวม | 45 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 100 | 300 |
รวม | 100 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 60 | 240 |
แบบระบายคำตอบที่เป็นค่า / ตัวเลข | 10 | 60 |
รวม | 70 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 20 | 60 |
แบบเลือกคำตอบจากแต่ละหมวดทีสัมพันธ์กัน | 10 | 30 |
แบบอัตนัย ตรวจด้วยคน | 4 | 210 |
รวม | 34 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 120 | 300 |
รวม | 120 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 90 | 225 |
แบบเลือกคำตอบจากแต่ละหมวดทีสัมพันธ์กัน | 10 | 75 |
รวม | 100 | 300 |
เวลาที่ใช้ในการสอบ : 3 ชม.
วิชา | รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนนเต็ม |
PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส |
ปรนัย 4 ตัวเลือก
1 คำตอบ
|
วิชาละ 100 ข้อ
|
วิชาละ 300 คะแนน
|
PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน | |||
PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น | |||
PAT 7.4 ภาษาจีน | |||
PAT 7.5 ภาษาอาหรับ | |||
PAT 7.6 ภาษาบาลี | |||
PAT 7.7 ภาษาเกาหลี |
9 วิชาสามัญ
รูปแบบข้อสอบ
- ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ ทุกวิชา
จำนวนข้อสอบ พร้อมเปรียบเทียบเวลา
1. ภาษาไทย 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
2. สังคมศึกษา 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
3. ภาษาอังกฤษ 80 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 7 วินาที) 100 คะแนน
4. คณิตศาสตร์ (1) 30 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที) 100 คะแนน
5. ฟิสิกส์ 25 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที 36 วินาที) 100 คะแนน
6. เคมี 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
7. ชีววิทยา 80 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 7 วินาที) 100 คะแนน
8. คณิตศาสตร์ (2) 30 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที) 100 คะแนน
9. วิทยาศาสตร์ทั่วไป 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
- ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ ทุกวิชา
จำนวนข้อสอบ พร้อมเปรียบเทียบเวลา
1. ภาษาไทย 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
2. สังคมศึกษา 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
3. ภาษาอังกฤษ 80 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 7 วินาที) 100 คะแนน
4. คณิตศาสตร์ (1) 30 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที) 100 คะแนน
5. ฟิสิกส์ 25 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที 36 วินาที) 100 คะแนน
6. เคมี 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
7. ชีววิทยา 80 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 7 วินาที) 100 คะแนน
8. คณิตศาสตร์ (2) 30 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 3 นาที) 100 คะแนน
9. วิทยาศาสตร์ทั่วไป 50 ข้อ 90 นาที (ข้อละ 1 นาที 48 วินาที) 100 คะแนน
ภาษาไทย
1. การอ่าน
(การวิเคราะห์จุดประสงค์/เจตนาของผู้เขียน, การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา, การจับใจความ/การสรุปสาระสำคัญของข้อความ, การวิเคราะห์ข้อคิด/แนวคิดที่ได้จากการอ่าน, การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน, ท่าที/น้ำเสียง/อารมณ์ความรู้สึก/ความคิดเห็นของผู้เขียน)
2. การเขียน
(การลำดับข้อความ, การเรียงความ, การพรรณนา/บรรยาย/อธิบาย, การใช้เหตุผล, การแสดงทรรศนะ, การโต้แย้ง, การโน้มน้าว)
3. การพูด การฟัง
(การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด, การใช้ข้อความถามและตอบที่สัมพันธ์กัน, การวิเคราะห์น้ำเสียงขอผู้พูด, การตีความ/อนุมาน/วิเคราะห์สาร/บุคลิกภาพของผู้พูดหรือผู้ฟัง)
4. หลักการใช้ภาษา
(การสะกดคำ, การใช้คำให้ถูกความหมาย, ประโยคกำกวม, ประโยคสมบูรณ์, ระดับภาษา, การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย, ชนิดของประโยคตามเจตนา, คำที่มีความหมายตรง/อุปมา, คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ, ราชาศัพท์)
สังคมศึกษา
1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
(ความสำคัญ, ศาสดา, หลักธรรมของพระพุทธศาสนา, ศาสนาอื่นตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข, การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาที่ตนนับถือ)
2. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
(หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดีงาม, การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย, การดำรงชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข, การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน, การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
3. เศรษฐศาสตร์
(บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ, สถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ, ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก)
4. ประวัติศาสตร์
(เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์, วิธีการทางประวัติศาสตร์, วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ, พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์, ชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและความเป็นไทย)
5. ภูมิศาสตร์
(โลกทางกายภาพและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ, ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม, มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
ภาษาอังกฤษ
1. Listening - Speaking Skills Situation dialogues
1.1 Everyday communication
2. Reading Skills Graph/chart/diagram/table
2.1 Academic
2.2 General
3. Writing skills Paragraph organization
3.1 Academic
3.2 General
คณิตศาสตร์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม)
1. ความรู้พื้นฐาน
(เซตและการดำเนินการของเซต ตรรกศาสตร์ ฟังก์ชัน)
2. ระบบจำนวนจริง
2.1 จำนวนเต็ม (การหารและขั้นตอนการหาร ห.ร.ม. และ ค.ร.น.)
2.2 จำนวนจริง (การแก้สมการ และอสมการของพหุนาม, ตัวแปรเดียว และในรูปค่าสัมบูรณ์)
2.3 จำนวนเชิงซ้อน (การดำเนินการของจำนวนเชิงซ้อน, จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้วและการหารากที่ n)
3. เรขาคณิต
3.1 เรขาคณิตวิเคราะห์ (เส้นตรง วงกลม วงรี พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา)
3.2 เวกเตอร์ (เวกเตอร์ใน 2 และ 3 มิติ การบวก ลบ การคูณเชิงสเกลาร์และการคูณเชิงเวกเตอร์)
3.3 ตรีโกณมิติ (ฟังก์ชันตรีโกณมิติและฟังก์ชันผกผัน, สมการตรีโกณมิติ, กฎของโคไซน์ และไซน์)
4. พีชคณิต
4.1 เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ (สมบัติของเมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์, การดำเนินการตามแถว, การหาตัวผกผันการคูณของเมทริกซ์และการแก้ระบบสมการ)
4.2 ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ, สมบัติของเลขยกก าลัง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเซียล, สมการ และอสมการเอกซ์โพเนนเชียล
4.3 ฟังก์ชันลอการิทึม (ลอการิทึม และสมบัติของลอการิทึม, ฟังก์ชันลอการิทึม, สมการและอสมการลอการิทึม)
5. ความน่าจะเป็นและสถิติ
5.1 ความน่าจะเป็น (วิธีเรียงสับเปลี่ยน และวิธีจัดหมู่, ทฤษฎีบททวินาม, ความน่าจะเป็น และกฎพื้นฐานที่สำคัญ)
5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (ค่ากลางของข้อมูล การวัดตำแหน่งที่และการวัดการกระจายของข้อมูล, ความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงความถี่, ค่ากลาง และการกระจายของข้อมูล)
5.3 การแจกแจงปกติ (ค่ามาตรฐาน การแจกแจงปกติ และเส้นโค้งปกติ)
6. แคลคูลัส
6.1 ลำดับและอนุกรม (การลู่เข้าของลำดับและอนุกรม)
6.2 ลิมิต (ลิมิต และความต่อเนื่อง)
6.3 อนุพันธ์ (อนุพันธ์ และสมบัติของอนุพันธ์ ความชัน, อนุพันธ์ของฟังก์ชันประกอบ, การประยุกต์)
6.4 ปริพันธ์ (ปริพันธ์ไม่จำกัดเขต, ปริพันธ์จำกัดเขต, การหาพื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง)
6.1 ลำดับและอนุกรม (การลู่เข้าของลำดับและอนุกรม)
6.2 ลิมิต (ลิมิต และความต่อเนื่อง)
6.3 อนุพันธ์ (อนุพันธ์ และสมบัติของอนุพันธ์ ความชัน, อนุพันธ์ของฟังก์ชันประกอบ, การประยุกต์)
6.4 ปริพันธ์ (ปริพันธ์ไม่จำกัดเขต, ปริพันธ์จำกัดเขต, การหาพื้นที่ที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง)
7. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
วิชาฟิสิกส์
1. กลศาสตร์ จลนศาสตร์ การเคลื่อนที่ แรงต้านการเคลื่อนที่
(การเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบมีคาบ (การเคลื่อนที่แบบกวัดแกว่ง) การหมุน สมดุล งาน-พลังงาน โมเมนตัมและการชน)
2. สมบัติของสสาร ความยืดหยุ่น กลศาสตร์ของไหล คลื่น แสง เสียง
3. ไฟฟ้า - ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ
(แม่เหล็ก- แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก การเหนี่ยวนำ มอเตอร์/ไดนาโม คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า, ฟิสิกส์ยุคใหม่ - แบบจำลองอะตอม ฟิสิกส์ควอนตัม สมการปฏิกิริยา นิวเคลียร์การสลายตัวของนิวเคลียส)
เคมี
1. อะตอมและตารางธาตุ
2. พันธะเคมี
3. สมบัติของธาตุและสารประกอบ
4. ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
5. ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
6. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
7. สมดุลเคมี
8. กรด - เบส
9. ไฟฟ้าเคมี
10. ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
11. เคมีอินทรีย์
12. เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
13. สารชีวโมเลกุล
1. อะตอมและตารางธาตุ
2. พันธะเคมี
3. สมบัติของธาตุและสารประกอบ
4. ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
5. ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
6. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
7. สมดุลเคมี
8. กรด - เบส
9. ไฟฟ้าเคมี
10. ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
11. เคมีอินทรีย์
12. เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
13. สารชีวโมเลกุล
ชีววิทยา
1. สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
(ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต, เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต, เซลล์, ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารให้ได้พลังงาน, ระบบหมุนเวียนเลือด, ระบบขับถ่าย, ระบบหายใจ, การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต, การรับรู้และการตอบสนอง, ระบบต่อมไร้ท่อ, การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์, ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก, การสังเคราะห์ด้วยแสง, การสืบพันธุ์ของพืชดอก, การตอบสนองของพืช, การถ่ายทอดทางพันธุกรรม, ยีนและโครโมโซม, พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีดีเอ็นเอ, วิวัฒนาการ, ความหลากหลายทางชีวภาพ)
2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
(ดุลยภาพของระบบนิเวศ, ประชากรและกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต, พฤติกรรมสัตว์, มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม)
คณิตศาสตร์ 2 (พื้นฐาน)
1. จำนวนจริงและการดำเนินการ
(จำนวนจริง, ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง, รากที่ n ของจำนวนจริง และเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ, การประมาณค่า)
2. การวัด
(อัตราส่วนตรีโกณมิติและการนำไปใช้)
3. พีชคณิต
(เซตและการดำเนินการของเซต, การให้เหตุผลแบบอุปนัย และนิรนัย, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, กราฟความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, สมการและอสมการตัวแปรเดียวของพหุนามดีกรีไม่เกินสอง, การนำกราฟไปใช้ในการแก้สมการและอสมการ, ลำดับ และการหาพจน์ทั่วไปของลำดับ, ลำดับ และอนุกรม เลขคณิต และเรขาคณิต)
4. ความน่าจะเป็น
(การแจกแจงความถี่ของข้อมูล, ค่ากลางของข้อมูล, การวัดการกระจายของข้อมูล, การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล, กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ, ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์)
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
1. พันธุกรรม
2. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3. อยู่ดีมีสุข
4. อยู่อย่างปลอดภัย
5. ธาตุและสารประกอบ
6. ปฏิกิริยาเคมี
7. สารชีวโมเลกุล
8. ปิโตรเลียม
9. พอลิเมอร์
10. การเคลื่อนที่
11. แรงในธรรมชาติ
12. คลื่นกล
13. เสียง
14. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
15. พลังงานนิวเคลียร์
16. โครงสร้างโลก
17. การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี
18. แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด
19. ธรณีประวัติ
20. กำเนิดเอกภพ
21. ดาวฤกษ์
22. ระบบสุริยะ
23. เทคโนโลยีอวกาศ
24. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิชาเฉพาะแพทย์
ที่มา :http://www.admissionpremium.com/content/2667
กสพท. ปีการศึกษา 2561 อัปเดตจำนวนรับ จากการแถลงการของ กสพท. ณ วันที่ 13 กรกฏาคม 2560 จำนวนรับรวม 2,666 ที่นั่ง เราไปดูกันเลยดีกว่าว่า มหาวิทยาลัยไหน เปิดรับคณะอะไร จำนวนกี่ที่นั่งกันบ้าง
คณะแพทยศาสตร์
1.คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น รับ 20 คน
2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รับ 182 คน
3. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ รับ 30 คน
4. คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รับ 80 คน
5. คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รับ 65 คน
6. คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร รับ 30 คน
7. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล รับ 154 คน
8. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล-วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รับ 20 คน
9. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับ 270 คน
10. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (โรงพยาบาลราชวิถี) รับ 50 คน
11. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต (โรงพยาบาลเลิดสิน) รับ 15 คน
12. คณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ รับ 180 คน
13. คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ รับ 40 คน
14. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช รับ 68 คน
15. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า เพศชาย รับ 60 คน
16. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า เพศหญิง รับ 40 คน
17. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี รับ 12 คน
18. คณะเเพทยศาสตร์ ม.บูรพา รับ 32 คน
19. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง รับ 28 คน
20. คณะเเพทยศาสตร์ ม.สยาม รับ 15 คน
คณะทันตแพทยศาสตร์
21. คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รับ 85 คน
22. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล รับ 83 คน
23. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รับ 25 คน
24. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ รับ 20 คน
25. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 55 คน
26. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น รับ 15 คน
27. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รับ 25 คน
28. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร รับ 10 คน
29. สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี รับ 10 คน
คณะสัตวแพทยศาสตร์
30. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รับ 150 คน
31. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น รับ 15 คน
32. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รับ 25 คน
33. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร รับ 10 คน
34. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหิดล รับ 40 คน
35. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รับ 12 คน
36. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก รับ 10 คน
37. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม รับ 10 คน
คณะเภสัชศาสตร์
38. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ(สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) รับ 75 คน
39. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ(สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) รับ 80 คน
40. คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล รับ 140 คน
41. คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รับ 80 คน
42. คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) รับ 20 คน
43. คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม) รับ 20 คน
44. คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี (สาขาวิชาการบริบาททางเภสัชกรรม) รับ 20 คน
45. คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบลราชธานี (สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ) รับ 10 คน
46. คณะเภสัชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รับ 30 คน
47. คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร (สาขาวิชาบริบาทเภสัชกรรม) รับ 20 คน
48. คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหาสารคาม (สาขาวิชาการบริบาททางเภสัชกรรม) รับ 10 คน
49. คณะเภสัชศาสตร์ ม.บูรพา รับ 60 คน
50. คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม) รับ 30 คน
51. คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ) รับ 40 คน
52. คณะเภสัชศาสตร์ ม.พายัพ (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม) รับ 40 คน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
คุณสมบัติของผู้สมัคร
คุณสมบัติของผู้สมัคร กสพท.61 from kotchakorn singsuwan
ข้อสอบ 9 วิชาสามัญ + พร้อมเฉลย
ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)
ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)
ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต from kotchakorn singsuwan
ที่มา:http://www.krurattana.net/student/st-file.pdf
ที่มา:http://www.krurattana.net/student/st-file.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น